วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเภทประกันชีวิต ในประเทศไทย

การประกันชีวิตในประเทศไทยที่ทำกัน แยกออกได้เป็น 3 ประเภท

1. ประเภทสามัญ จำนวนเงินเอาประกันภัยของผู้ประกันค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป มีการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทมีเงื่อนไขอย่างไร ส่วนการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน หรือรายเดือน ค่าเบี้ยประกันในงวดแรกหรือปีแรกจะเรียกเก็บในคราวเดียวครบจำนวนเบี้ยประกันภัย

2. ประเภทอุตสาหกรรม จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ โดยทั่วไปตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท  การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ มีระยะเวลารอคอย 180 วัน ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด

3. ประเภทกลุ่ม
เป็นการประกันชีวิตที่กรมธรรม์หนึ่งจะมีผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท การประกันชีวิตกลุ่มนี้อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภท อุตสาหกรรม

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

การประกันอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกาย และทำให้ผู้เอาประกันภัย ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

การประกันอุบัติเหตุ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
    • การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เรียกย่อว่า PA    
    • การประกันอุบัติเหตุการเดินทาง เรียกย่อว่า TA

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA

การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)
    • ให้ความคุ้มครองชีวิต ร่างกายของผู้เอาประกันภัย อันเนื่องมาจากกาประสบอุบัติเหตุในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมง
    • ระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี
    • สามารถเอาประกันเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มก็ได้ อาทิเช่น กลุ่มครอบครัว หรือ กลุ่มธุรกิจ เป็นต้น
การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (P.A) แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1. อุบัติเหตุ 1 (อบ.1)  
    2. อุบัติเหตุ 2 (อบ.2) 
ความคุ้มครอง
1. อุบัติเหตุ 1 (อบ.1)
1.1 เสียชีวิต ภายใน 180 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ (บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มทุนประกัน)
1.2 การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
การบาดเจ็บที่ทำให้ผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงภายใน 180 วัน และเป็นไปติดต่อกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ (บริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มทุนประกัน)
1.3 สูญเสียมือ เท้า และสายตา ภายใน 180 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ (ตารางหน้า 2)
1.4 การถูกฆาตกรรม และลอบทำร้าย
1.5 ขับขี่ หรือซ้อนท้ายจักรยานยนต์
1.6 ค่ารักษาพยาบาล
ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลจากการประสบอุบัติเหตุโดยแพทย์แผน ปัจจุบันเท่านั้น และจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
1.7 ค่าชดเชยกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าชดเชยรายวันระหว่างพักรักษาตัวอยู่ในโรง พยาบาล ตามจำนวนวันของการเข้ารักษาอยู่ในโรงพยาบาล แต่สูงสุดไม่เกิน 365 วัน
1.8 ค่าปลงศพ
        - กรณี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย (หากเสียชีวิตเนื่องจากเจ็บป่วย มีระยะการเวลารอคอย 180 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์มีผลคุ้มครอง)   
    - ผลประโยชน์เพิ่มเติมกรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ

2. อุบัติเหตุ 2 (อบ.2)
    ให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมจาก อบ.1 ในเรื่องของการสูญเสียนิ้วมือ นิ้วเท้า การรับฟังเสียง (หูหนวก) และการพูดออกเสียง (เป็นใบ้)